วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 10 # สัมมนา e-Book & e-Magazine on Tablet (14-7-55)



ตัวแทนห้อง MTCT-1C ร่วมฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง "e-Book & e-Magazine on Tablets"
จัดโดย ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ.


เนื้อหาหลักๆ ของการจัดสัมมนาครั้งนี้คือ
ร่วมเสวนาถึงแนวโน้มของการเติบโตของ Tablets และ การเติบโตของ Digital Magazine
ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่ขาย Device และ Tool  


" Samsung "
  • ป้จจุบันการใช้งาน  Tablet ของคนไทย อยู่ในรูปแบบ access content and information ถึง 94%   
  • OS บน Tablet ที่มี Marketshare สูงสุดคือ Android (มี.ค.2012)  58.8% 
  • Android คิดค้นมาจาก Google และร่วมกันพัฒนาจากหลายๆ ค่ายมือถือ เช่น Sีamsung LG HTC
  • ในรูปแบบ Digital Magazine  (eBook+ePub) DRM (Digital Right Management) ระบบจัดการสิทธิ์ ช่วยด้านการถูกคัดลอกข้อมูล (ลิขสิทธิ์) จะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่ยังป้องกันไม่ได้ 100% 
สำนักพิมพ์ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง  ขาดความชำนาญ และยังมองไม่เห็นโครงสร้างทางการตลาดของ Digital Magazine ที่ชัดเจน


"i Love Library"

          มาแนะนำบริษัท และนำเสนอ Tool ในการสร้าง e-Book นั่นคือ i Love Library เป็นเครื่องมือในการสร้าง e-Book ได้อย่างรวดเร็วภายใน 3 นาที และมีประสิทธิภาพ ความสวยงาม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานในประเทศไทยค่อนข้างมากขึ้น และมีเครือข่ายกับสถาบันการศึกษา 119 แห่ง มี 40 แห่งที่พอใช้งาน Tool ได้ เนื่องจากปัญหาทางด้านความพร้อมของ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

        ในความคิดของข้าพเจ้า จากที่มีประสบการณ์ในการใช้ทั้ง Desktop Auther และ Filp Album รู้สึกว่า Tool ที่บริษัทมานำเสนอ มีการใช้งานที่ง่ายมาก และค่อนข้างสำเร็จรูป ผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน ก็สามารถใช้งานเป็นได้ในเวลาที่รวดเร็ว

          ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยี มีแนวโน้มไปในการใช้ Tablets มากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ในการเสพสื่อความบันเทิง อ่านหนังสือ   ถ้าโครงการ Tablets ประสบผลสำเร็จ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในสังคมหนังสือของประเทศไทย บริษัท ห้างร้าน หน่วยงาน มีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มาแรงในตอนนี้  ต่างคิดค้นกลยุทธ์ ใช้วิกฤต ให้เป็นโอกาส เพื่อแสวงหาผลกำไร และเข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด


วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 9 # (11-7-55) บทความวิชาการ เรื่องที่ 1


บทความวิชาการเรื่อง

การนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิค Augmented Reality
สำหรับส่งเสริมจินตนาการการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน



ตีพิมพ์
วารสารครุปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Kru Pritas Journal, Suan Sunandha Rajabhat University
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2555)
Vol. 7 No. 1 (January – June 2012)
ISSN 2286–7848



ทิพวรรณ  มีพึ่ง
-------------------------------------------------------------------------------------
การเขียนบทความวิชาการ

บทความวิชาการ เป็นการเขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ตนเองสนใจว่า มีประโยชน์กับการศึกษา ถ้านำสิ่งที่สนใจมาสร้างเป็นสื่อ หรือบทเรียน หรืออื่นๆ ... โดยที่ยังไม่ได้สร้างจริง เป็นการเขียนในเชิงลักษณะประโยชน์ที่จะนำมาใช้ได้  โดยมีงานวิจัยต่างๆ มาเป็นสิ่งเสริมให้น่าเชื่อถือ

--------------------------------------------------------------------------------

1. รูปแบบของแต่ละที่ที่ลงตีพิมพ์ไม่เหมือนกัน ดูฟอร์มที่ๆ จะตีพิมพ์ก่อนเพื่อจะกำหนดหัวข้อที่ต้องใช้ว่ามีอะไรบ้าง

2. คำนำ  นิยมกล่าวถึง
- นโยบายรัฐบาล เช่น พ.ร.บ. / เศรฐกิจ / เทคโนโลยีใหม่
- อ้างงานวิจัย , หนังสือ
- ความต้องการของผู้เขียนงานวิจัย (แต่ควรมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือด้วย)

3. แนวคิดของสิ่งที่ตนเองสนใจ 
เช่นแท็บเล็ต / ในตัวอย่างบทความวิชาการ สนใจเรื่องเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  กล่าวถึงสิ่งที่สนใจ ประโยชน์ ทำอะไรได้บ้าง

4.ยกงานวิจัย ที่มีผู้เคยทำเกียวกับเรื่องนั้นๆ (จากข้อ 3) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

5. สรุป
- กล่าวถึงประโยชน์ของการนำแนวคิดเรื่องที่ตนเองสนใจ ทำอะไรได้บ้าง  แล้วจบด้วยสนองต่อข้อ 2  

6.อ้างอิง สำคัญที่สุดคือ ตรงไหนของบทความที่มีการนำบทความวิจัย หรือมีการกล่าวถึงผู้ใด ต้องมีใส่ไว้ในอ้างอิงตามรูปแบบที่ถูกต้องด้วย 
อ้างอิงที่ควรนำมาใช้ เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, หนังสือจากผู้แต่งที่น่าเชื่อถือ  

(อ้างอิงจากอินเตอร์เน็ตน้ำหนักความน่าเชื่อถือยังไม่มากที่ควร อาจได้แก้ไข)

** ---- ดูตัวอย่างจากบทความวิชาการของเรา น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น -----**อ่านตัวอยางบทความวิจัย ดูตัวอย่างเยอะๆ ถ้าจับจุดได้ คือคล้ายกัน
-------------------------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 8 # (6-7-55) ประชุมวิชาการ TechEd ครั้งที่ 5

การอภิปรายกลุ่มเรื่อง "Engineering and Technical Education ในประชาคมเศรษฐกิจ (AEC 2015)"

1.ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2. คุณแสงชัย โชติช่วงชัชวาล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัทพัฒน์กล จำกัด (มหาชน)
3.รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=263&cno=2391


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจ AEC 2015

- รองเลขาธิการฯ เล่าว่า อาชีวศึกษา มีการสร้างหลักสูตรแบบทวิภาคี รองรับอาชีพในพื้นที่ ตามความต้องการของภาคเอกชน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่าง อาชีวฯ และภาคเอกชนในการร่วมจัดตั้งหลักสููตรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

- คุณแสงชัย เล่าว่าปัจจุบันภาคเอกชน  มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนกำลังคนในการทำงาน ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแรงงานทยอยกลับถิ่นกำเนิด ไปประกอบอาชีพเกษตรกรแทน (ปลูกข้าว / ปลูกไร่ยางพารา / ปลูกสวนปาล์ม)

- รศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษากลาง อาจารย์อยากให้มีความร่วมมือในส่วนของมหาวิทยาลัย  และภาคเอกชน ในการดูแล เกื้อหนุน สำหรับการสร้างบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงาน และให้แนวคิดว่า มหาวิทยาลัยควรเน้นทางด้าน วิทย์ คณิต เพื่อให้บัณฑิตสามารถพัฒนาไปเป็นมันสมองขององค์กรได้

ดำเินินรายการโดยคุณแทนคุณ จิตต์อิสระ



ผลงานวิจัยที่สนใจ

การศึกษาความพึงพอใจการเรียรนู้แบบผสมผสานในรายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผ่านระบบ "BU WebEx" และการใช้เว็บไซต์บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

อ.นฤเทพ สุวรรณ ธาดา
ภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ