วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 15 # นำเสนองานวิจัย ครั้งที่ 3 (5-7-02-56)

                                                                        ประชุมวิชาการครั้งที่ 51 
                                                                    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                                                                    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 
                                                                         (11.20-11.40 น.)

                                การเรียนรู้แบบผสมผสาน ด้วยสื่อสังคม Online เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
                             Blended Learning with Social Media Online for Effective teaching and learning

                                                                                ทิพวรรณ มีพึ่ง
                                          สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเจ้าพระยา







 




วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 14 # นำเสนองานวิจัย ครั้งที่ 2 (20-12-55)

การประชุมวิชาการวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 6
 "ว่าด้วยความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน"
 ณ อาคารเฉลิม พระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

20 ธันวาคม 2555
 ห้องบรรยาย 4 10.40-11.00 น.


การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ร่วมกับ Free e-Commerce
เสริมสร้างทักษะ วิชาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

Blended Learning with Free e-Commerce for Skills in e-Commerce course

ทิพวรรณ มีพึ่ง
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเจ้าพระยา


                           


                




วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 13 # นำเสนองานวิจัย ครั้งที่ 1 (05-9-55)

วันที่ 5 ตุลาคม 2555  นำเสนอบทความวิจัย
ห้อง 207 มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน

 เรื่อง

 รูปแบบการเรียนการสอนด้วยการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิค Augmented Realty
สำหรับส่งเสริมจินตนาการการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนทางการเรียน ตามทฤษฎีของกาเย่




ชมภาพกิจกรรมภายในงานทั้งหมด  คลิกที่นี่  ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 12 # สรุปการเขียน บทความวิจัย

กรณีเป็นงานวิจัยระหว่างภาคเรียน ที่มิใช่งานวิจัยจบการศึกษา
จะเป็นการเขียนงานวิจัยในรูปแบบ


การเขียนกรอบความคิดสำหรับงานวิจัย



ภาพรวม

เป็นการนำเสนอไอเดีย ความคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สนใจ รวมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่ง และแนวทางการนำไปใช้


ประกอบด้วย (แบบฟอร์มขึ้นอยู่กับแหล่งที่จะนำส่ง)

ชื่อเรื่องไทย
ชื่อเรื่องอังกฤษ

ชื่อผู้วิจัย

บทคัดย่อไทย
บทคัดย่ออังกฤษ


วิธีการเขียน

1.บทนำ เหมือนการเขียนที่มาของปัญหา โดยนิยมกล่าวถึง

- ปัญหา เศรษฐกิจ 
- นโยบายรัฐบาล
- ความต้องการ ผลที่ได้คือความพึงพอใจ
- ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน


2.ตัวแปร
ตัวแปรต้น - โปรแกรม, เครื่องมือ, วิธีการเรียน, ชื่องานที่ต้องการสร้าง
ตัวแปรตาม - เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, หรือสิ่งที่ต้องการรู้ สิ่งที่ตามมา

เช่น เรื่อง รูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิค Augmented Reality สำหรับส่งเสริมจินตนาการการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนทางการเรียน ตามทฤษฎีของกาเย่  


ตัวแปรต้น - รูปแบบการเรียนการสอน ด้วยการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิค Augmented Reality 
ตัวแปรตาม - ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนทางการเรียน  (นั่นคือกรณีทำงานวิจัยจบ แต่ถ้าเป็นการทำงานวิจัยระหว่างเทอม คือเสนอแนวคิด  ตัวแปรตาม คือ ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น)



3.เขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย (เขียนได้หลายแบบ)


4. อธิบายสิ่งที่กล่าวถึงใน กรอบแนวคิด 

- ทฤษฎีของกาเย่

- แนวคิดเกี่ยวกับ AR  (ตรงนี้เป็นสิ่งที่สนใจหลัก ต้องมี แผนภาพประกอบ โดยแผนภาพนำมาจากงานวิจัยของท่านอื่นที่เกี่ยวข้อง)

- ช่องทางการเผยแพร่ เช่น Moodle / Website / Facebook


5.วิธีการวิจัย

1.  กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย  คือ  ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 - 7 - 9 ท่าน ตามความเหมาะสม
1.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ (เหมือนข้อ 1.1)


2.  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
                  2.1  ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการเรียนการสอนด้วยการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิค Augmented Reality สำหรับส่งเสริมจินตนาการการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ และความคงทนทางการเรียน ตามทฤษฎีของ
กาเย่ 
                  2.2 ตัวแปรตาม คือ ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียน การสอนที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้น


                 3.  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  
                 3.1  รูปแบบการเรียนการสอน (กรอบแนวคิดที่จะนำเสนอ)
                 3.2  แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน (แบบประเมินที่ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน)


                 4.  การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล   


6. สรุปผลการวิจัย
- ข้อความ
- รูปแบบโมเดลจากการรวม กรอบแนวคิด วาดเป็นโมเดลได้หลายรูปแบบ


- สรุปผลการประเมิน เป็นตารางมีค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน (มาจากที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินแนวคิดเรา)
- แสดงสรุปผลในรูปแบบ แผนภูมิ (กราฟ)

7. อภิปรายผล

             บอกผลจากการศึกษาโมเดล นี้มีประโยชน์อย่างไร แล้วจะนำมาทำสิ่งใดได้บ้าง



8.ข้อเสนอแนะ (กล่าวถึง 2 ข้อหลักๆ จากเครื่องมือที่ใช้วิจัย)
1.การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้เทคนิค AugmentedReality

......................................................................................................................


2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคนิค
Augmented Reality 
......................................................................................................................

9.อ้างอิง
- เน้นเป็นงานวิจัย
- เน้นเป็นหนังสือ
- เรียงลำดับตามตัวอักษร



***********************************************************************************************




วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ครั้งทื่ 11# สัมมนา NEC2012 (14-8-55)


การประชุมวิชาการระดับชาติด้านอีเลิร์นนิง
Integrating ASEAN Online Learning : Policy and Process
บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเชียน : นโยบายและกระบวนการ
14-15 สิงหาคม 2555 ณ อาคาร 9 อิมแพค เมืองทองธานี

เรื่องที่สนใจ
Google Apps for Education สู่โลกแห่งการศึกษายุคใหม่
สู่ความสำเร็จของอุดมศึกษาไ
ทยและ  ASEAN online Learning อย่างมั่นคง


(จากซ้ายมาขวา)
1. อ.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ ม.ศรีปทุม
2.
คุณเก๋ จาก CRM Charity Training จาก Google
3.
ผศ.ดร. เด่นพงษ์ สุดภักดี  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและสารสนเทศ  ม.ขอนแก่น
4.
ดร.กริชชนะ คันธนู หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วศ..วิศวกรรมไฟฟ้า   ม.ขอนแก่น



สรุปการเข้ารับฟังการสัมมนา ในหัวเรื่องที่สนใจ

  • มหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าโครงการ Google Apps for Education ร่วมกับ CRM Charity จาก Google ในการนำ Apps ของ Google มาใช้ในการเรียนการสอน การทำงานในมหาวิทยาลัย โดยทดลองเป็นระยะเวลา 6 เดือน  มีกระบวนการตั้งแต่


  •  รับสมัครนักศึกษา และมีการกำหนดให้นักศึกษาใช้ Email ของ Gmail ที่มีพื้นที่ให้ฟรีถึง 25 GB เพื่อวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาใช้ Email นี้ตลอดจนกระทั่งเรียนจบไปทำงาน ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถติดตามนักศึกษาที่เป็นศิษย์เก่าได้ง่าย  โดยกำหนดให้ตั้งชื่อ Email เป็นชื่อ-นามสกุล หรือส่วนหนึ่งของชื่อ-นามสกุล ของนักศึกษา (ไม่ใช้รหัสนักศึกษาเพื่อรองรับการใช้งาน Email ตลอดจนไปทำงาน)  อีกทั้ง Gmail มีระบบส่ง SMS ฟรีสำหรับผู้ใช้งาน 

  •  ผู้บริหารมีนโยบายให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาร่วมกันใช้ Apps Google Docs  ในการเรียนการสอน โดยที่ผู้บริหารร่วมใช้จริงด้วย เช่น ใช้ Apps งานนำเสนอ ในการทำ สื่อการสอนกับนักศึกษา  

  • ใช้ Apps เอกสาร ในการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันเป็นกลุ่ม สามารถเข้ามาแก้ไข เพิ่มเติม ปรับปรุงข้อมูลได้ภายในเอกสารเดียวกัน 

  • ใช้ Apps form ฟอร์ม ในการทำแบบสอบถามรูปแบบต่างๆ และสามารถนำผลคะแนนจาก
    สเปรดชีส มาสร้างเป็นสูตร แสดงค่าเป็นกราฟได้ด้วยความสะดวก ง่าย และเร็ว

  •  อาจารย์สร้างกลุ่มใน Google+ เพื่อสร้างแวดวง และกิจกรรมภายในกลุ่ม เช่น ร่วมโหวดเฟรชชี่ ภายในกลุ่ม Google+

  • อาจารย์สามารถใช้ฟังค์ชัน Hangout ของ Google ในการประชุม หรือสนทนาแบบ Real time ซึ่งทำให้เห็นหน้า พูดคุยหารือ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • อาจารย์สามารถใช้ Blogspot ของ Google เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก หรือ Group ในการใช้งานแทน Webbord ทั่วไป ซึ่งข้อมูลที่มีการสอบถาม ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา จะเป็นข้อมูลให้กับเพื่อนๆ ได้รับรู้ร่วมกัน

                                                           

สรุปการรับฟังการสัมมนา 

           การใช้ Tools หรือ Apps ของ Google ที่มีการพัฒนามาเพื่อรองรับทางด้านการศึกษา ในรูปแบบที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ในมุมของผู้สอน สามารถสื่อสารกันได้ในช่องทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนที่ไม่มีความรู้ทางด้านเขียนโปรแกรม สร้างเว็บไซต์ สามารถนำ Tools ต่างๆ นี้มาใช้ได้เป็นอย่างดี  ในมุมของผู้เรียนได้เรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัว ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก่อให้เกิดความคุ้นเคย เพื่อเตรียมพร้อมในการออกไปสู่ตลาดแรงงานในอนาคต ผู้ใช้งานไม่ใช่การใช้งานในลักษณะ Alone เมื่อประสบปัญหากับเทคโนโลยีที่ใช้ สามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้ใน Internet ซึ่งมีผู้ใช้งาน Google อยู่ทั่วไลก และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ได้เข้าร่วมโครงการ Google Apps for Education ถึง 60 กว่ามหาวิทยาลัย




ดูรูปกิจกรรมเพิ่มเติมที่

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 10 # สัมมนา e-Book & e-Magazine on Tablet (14-7-55)



ตัวแทนห้อง MTCT-1C ร่วมฟังสัมมนาวิชาการ เรื่อง "e-Book & e-Magazine on Tablets"
จัดโดย ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ.


เนื้อหาหลักๆ ของการจัดสัมมนาครั้งนี้คือ
ร่วมเสวนาถึงแนวโน้มของการเติบโตของ Tablets และ การเติบโตของ Digital Magazine
ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่ขาย Device และ Tool  


" Samsung "
  • ป้จจุบันการใช้งาน  Tablet ของคนไทย อยู่ในรูปแบบ access content and information ถึง 94%   
  • OS บน Tablet ที่มี Marketshare สูงสุดคือ Android (มี.ค.2012)  58.8% 
  • Android คิดค้นมาจาก Google และร่วมกันพัฒนาจากหลายๆ ค่ายมือถือ เช่น Sีamsung LG HTC
  • ในรูปแบบ Digital Magazine  (eBook+ePub) DRM (Digital Right Management) ระบบจัดการสิทธิ์ ช่วยด้านการถูกคัดลอกข้อมูล (ลิขสิทธิ์) จะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่ยังป้องกันไม่ได้ 100% 
สำนักพิมพ์ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง  ขาดความชำนาญ และยังมองไม่เห็นโครงสร้างทางการตลาดของ Digital Magazine ที่ชัดเจน


"i Love Library"

          มาแนะนำบริษัท และนำเสนอ Tool ในการสร้าง e-Book นั่นคือ i Love Library เป็นเครื่องมือในการสร้าง e-Book ได้อย่างรวดเร็วภายใน 3 นาที และมีประสิทธิภาพ ความสวยงาม ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานในประเทศไทยค่อนข้างมากขึ้น และมีเครือข่ายกับสถาบันการศึกษา 119 แห่ง มี 40 แห่งที่พอใช้งาน Tool ได้ เนื่องจากปัญหาทางด้านความพร้อมของ คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

        ในความคิดของข้าพเจ้า จากที่มีประสบการณ์ในการใช้ทั้ง Desktop Auther และ Filp Album รู้สึกว่า Tool ที่บริษัทมานำเสนอ มีการใช้งานที่ง่ายมาก และค่อนข้างสำเร็จรูป ผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน ก็สามารถใช้งานเป็นได้ในเวลาที่รวดเร็ว

          ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยี มีแนวโน้มไปในการใช้ Tablets มากขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ในการเสพสื่อความบันเทิง อ่านหนังสือ   ถ้าโครงการ Tablets ประสบผลสำเร็จ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในสังคมหนังสือของประเทศไทย บริษัท ห้างร้าน หน่วยงาน มีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มาแรงในตอนนี้  ต่างคิดค้นกลยุทธ์ ใช้วิกฤต ให้เป็นโอกาส เพื่อแสวงหาผลกำไร และเข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด


วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 9 # (11-7-55) บทความวิชาการ เรื่องที่ 1


บทความวิชาการเรื่อง

การนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้เทคนิค Augmented Reality
สำหรับส่งเสริมจินตนาการการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน



ตีพิมพ์
วารสารครุปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Kru Pritas Journal, Suan Sunandha Rajabhat University
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2555)
Vol. 7 No. 1 (January – June 2012)
ISSN 2286–7848



ทิพวรรณ  มีพึ่ง
-------------------------------------------------------------------------------------
การเขียนบทความวิชาการ

บทความวิชาการ เป็นการเขียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ตนเองสนใจว่า มีประโยชน์กับการศึกษา ถ้านำสิ่งที่สนใจมาสร้างเป็นสื่อ หรือบทเรียน หรืออื่นๆ ... โดยที่ยังไม่ได้สร้างจริง เป็นการเขียนในเชิงลักษณะประโยชน์ที่จะนำมาใช้ได้  โดยมีงานวิจัยต่างๆ มาเป็นสิ่งเสริมให้น่าเชื่อถือ

--------------------------------------------------------------------------------

1. รูปแบบของแต่ละที่ที่ลงตีพิมพ์ไม่เหมือนกัน ดูฟอร์มที่ๆ จะตีพิมพ์ก่อนเพื่อจะกำหนดหัวข้อที่ต้องใช้ว่ามีอะไรบ้าง

2. คำนำ  นิยมกล่าวถึง
- นโยบายรัฐบาล เช่น พ.ร.บ. / เศรฐกิจ / เทคโนโลยีใหม่
- อ้างงานวิจัย , หนังสือ
- ความต้องการของผู้เขียนงานวิจัย (แต่ควรมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือด้วย)

3. แนวคิดของสิ่งที่ตนเองสนใจ 
เช่นแท็บเล็ต / ในตัวอย่างบทความวิชาการ สนใจเรื่องเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  กล่าวถึงสิ่งที่สนใจ ประโยชน์ ทำอะไรได้บ้าง

4.ยกงานวิจัย ที่มีผู้เคยทำเกียวกับเรื่องนั้นๆ (จากข้อ 3) เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

5. สรุป
- กล่าวถึงประโยชน์ของการนำแนวคิดเรื่องที่ตนเองสนใจ ทำอะไรได้บ้าง  แล้วจบด้วยสนองต่อข้อ 2  

6.อ้างอิง สำคัญที่สุดคือ ตรงไหนของบทความที่มีการนำบทความวิจัย หรือมีการกล่าวถึงผู้ใด ต้องมีใส่ไว้ในอ้างอิงตามรูปแบบที่ถูกต้องด้วย 
อ้างอิงที่ควรนำมาใช้ เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, หนังสือจากผู้แต่งที่น่าเชื่อถือ  

(อ้างอิงจากอินเตอร์เน็ตน้ำหนักความน่าเชื่อถือยังไม่มากที่ควร อาจได้แก้ไข)

** ---- ดูตัวอย่างจากบทความวิชาการของเรา น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้น -----**อ่านตัวอยางบทความวิจัย ดูตัวอย่างเยอะๆ ถ้าจับจุดได้ คือคล้ายกัน
-------------------------------------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 8 # (6-7-55) ประชุมวิชาการ TechEd ครั้งที่ 5

การอภิปรายกลุ่มเรื่อง "Engineering and Technical Education ในประชาคมเศรษฐกิจ (AEC 2015)"

1.ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2. คุณแสงชัย โชติช่วงชัชวาล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัทพัฒน์กล จำกัด (มหาชน)
3.รศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=263&cno=2391


การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจ AEC 2015

- รองเลขาธิการฯ เล่าว่า อาชีวศึกษา มีการสร้างหลักสูตรแบบทวิภาคี รองรับอาชีพในพื้นที่ ตามความต้องการของภาคเอกชน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่าง อาชีวฯ และภาคเอกชนในการร่วมจัดตั้งหลักสููตรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ

- คุณแสงชัย เล่าว่าปัจจุบันภาคเอกชน  มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนกำลังคนในการทำงาน ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแรงงานทยอยกลับถิ่นกำเนิด ไปประกอบอาชีพเกษตรกรแทน (ปลูกข้าว / ปลูกไร่ยางพารา / ปลูกสวนปาล์ม)

- รศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษากลาง อาจารย์อยากให้มีความร่วมมือในส่วนของมหาวิทยาลัย  และภาคเอกชน ในการดูแล เกื้อหนุน สำหรับการสร้างบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงาน และให้แนวคิดว่า มหาวิทยาลัยควรเน้นทางด้าน วิทย์ คณิต เพื่อให้บัณฑิตสามารถพัฒนาไปเป็นมันสมองขององค์กรได้

ดำเินินรายการโดยคุณแทนคุณ จิตต์อิสระ



ผลงานวิจัยที่สนใจ

การศึกษาความพึงพอใจการเรียรนู้แบบผสมผสานในรายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผ่านระบบ "BU WebEx" และการใช้เว็บไซต์บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

อ.นฤเทพ สุวรรณ ธาดา
ภาควิชาวิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ



วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่ 7 # 27-6-55

Keyword สำหรับเขียนบทความวิชาการ

1.Blog
2.Social Media
3.Smart Phone
4.Google Doc
5.Cloud computing
6.Web 2.0
7.KM
8.Podcast
9.Visual Classroom
10.Blended Learning
11.Mind Map
12.Constractivism
13.LCMS
14.AR
------------------------------------------------------------------------------------------------


บทความวิชาการ 


เรื่องการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง โดยใช้ Augmented Reality 
สำหรับส่งเสริมจินตนาการการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน 

The Application of Visual Technology Using Augmented Reality Technique 
for Creative Learning and Achievement Learning

           





----------------------------------------------------------

งานประจำวัน

1. หาทฤษฎีของ Blended Learning ใส่เพิ่มใน Blogger ของตนเอง

2. ตั้งชื่อบทความวิชาการที่ตนเองสนใจ จาก Keyword ด้านบน (ปริ้นส่ง)

3. สรุปโครงร่างงานวิจัย จากงานวิจัยที่ตนเองสนใจ (งานที่ปริ้นส่งครั้งที่1)  10  แผ่น (ปริ้นส่ง)
  ไฟล์ปริ้นส่ง Download คลิกที่นี่

4. นักศึกษาเข้าดูข้อมูล และดาวน์โหลด คู่มือการจัดพิมพ์รูปแบบวิทยานิพนธ์ได้ที่ เว็บไซต์ http://www.a-duangkamol.com/ ที่ แหล่งความรู้เพิ่มเติมการทำงานวิจัย

ตัวอย่างการเขียนโครงร่างงานวิจัย (อยู่ตรงข่าวประชาสัมพันธ์



                                      **********************************************

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning)


.....Blended learning เป็นการผสมผสานวิธีหลายๆวิธีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้(teaching and learning ) เช่น การสอนในชั้นเรียนร่วมกับการสอนผ่านเครือข่าย(a combination of face-to-face and online Learning) ซึ่งตรงกับความคิดของผมที่ว่า "ไม่มีวิธีการสอนแบบใดแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ ต้องอาศัยวิธีการหลายๆวิธีนำมาผสมผสานกัน" จึงจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และ Blended learning เหมาะกับการศึกษาด้านวิชาชีพ การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะด้านฝีมือที่ต้องอาศัยความชำนาญ เพื่อพัฒนาผู้เรียนจาก Novice ไปสู่ Expert.
....."blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"
แหล่งที่มา http://researchers.in.th/blog/boonphakdee/178


.....การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและของสังคมอยู่ตลอดเวลา การจัดการศึกษาในปัจจุบันนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้เข้ามามีความสำคัญและมีบทบาทต่อการจัดการศึกษาในทุกระดับ คอมพิวเตอร์ก็นับว่าเป็นผลผลิตทางเทคโนโลยี ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของนักเรียน นักศึกษา การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีการสอนแบบหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะเป็นวิธีที่ใช้หลักการจัดการให้ตอบสนองในด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ นักเรียนจะสามารถเรียนได้ตามความสามารถและความสนใจของแต่ละคน


.....การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) เป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ประยุกต์ โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ใน เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web) มาส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ (Khan, 1997 : Karen, 1998) ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูล การอ้างอิง ประกอบการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป เนื่องจาก เวิลด์ ไวด์ เว็บ เป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของข้อความหลายมิติ (Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูล เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนการสอนไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อสาร (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542: 23-25)


.....ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา เช่น การมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนมนุษย์ (Human connection) การกำกับตนเอง (Self-regulation) การเรียนรู้ด้วยตนเองและการกำหนดทิศทางต่อการเรียนของผู้เรียน และผู้เรียนบางคนไม่สามารถศึกษาด้วยตนเอง การเรียนรู้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ได้ แนวทางในการแก้ปัญหานี้อาจทำได้โดยการจัดการเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) ซึ่ง Thorne (2003) ให้ความหมายการเรียนการสอนแบบผสมผสานว่า เป็นการรวมนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์บนการเรียนแบบออนไลน์ และการมีส่วนร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิมคือในห้องเรียน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการเรียนรู้ มีส่วนสนับสนุนและช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น




                                     **********************************************

learning style หมายถึง

ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ที่สำคัญนั้น นอกจากความเชื่อ และทัศนคติแล้ว ปัจจุบันนี้ในบริบทของ การจัดการศึกษา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักวิจัยกำลังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นทุกที ต่อสิ่งที่เรียกว่า รูปแบบการคิด (cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ในฐานะที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ระดับอุดมศึกษา และในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพขององค์กรต่างๆ
ความหมายของคำว่า "รูปแบบ (style)"

คำว่า "รูปแบบ (style)" ในทางจิตวิทยา หมายถึงลักษณะที่บุคคลมีอยู่หรือเป็นอยู่ หรือใช้ในตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม อย่างค่อนข้าง คงที่ ดังที่เรามักจะใช้ทับศัพท์ว่า "สไตล์" เช่น สไตล์การพูด สไตล์การทำงาน และสไตล์การแต่งตัว เป็นต้น ซึ่งก็หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราเป็นอยู่ หรือเราทำอยู่เป็นประจำ หรือค่อนข้างประจำ

ความหมายของ รูปแบบการคิด(Cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้(learning style)
รูปแบบการคิด (cognitive style) หมายถึง หนทางหรือวิธีการที่บุคคลชอบใช้ในการรับรู้ เก็บรวบรวม ประมวล ทำความเข้าใจ จดจำข่าวสารข้อมูลที่ได้รับ และใช้ในการแก้ปัญหา โดยรูปแบบการคิดของแต่ละบุคคลมีลักษณะค่อนข้างคงที่

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning style) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ความคิด และความรู้สึก ที่บุคคลใช้ในการรับรู้ ตอบสนอง และมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางการเรียนอย่างค่อนข้างคงที่ (Keefe, 1979 อ้างใน Hong & Suh, 1995)

ดังนั้นรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ จึงเป็นลักษณะของการคิด และลักษณะของการเรียนที่บุคคลหนึ่งๆ ใช้หรือทำเป็นประจำ อย่างไรก็ตามรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้หมายถึง ตัวความสามารถโดยตรง แต่เป็นวิธีการที่บุคคล ใช้ความสามารถ ของตนที่มีอยู่ในการคิด และการเรียนรู้ ด้วยลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มากกว่าอีกลักษณะหนึ่งหรือลักษณะอื่นๆที่ตนมีอยู่
ความเกี่ยวข้องระหว่างรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้

แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคิด (Cognitive Style) พัฒนามาจากความสนใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งในช่วงแรก ของการ ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการคิดนักจิตวิทยาได้เน้นศึกษาเฉพาะความแตกต่างระหว่างบุคคล ในแง่ของ การประมวลข่าวสารข้อมูล ยังไม่ได้ประยุกต์เข้ามาสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียน ต่อมานักจิตวิทยากลุ่มที่สนใจ การพัฒนาประสิทธิภาพ ของการเรียน การสอนในชั้นเรียน ได้นำแนวคิดของรูปแบบการคิดมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเน้นสู่ บริบทของการเรียนรู้ในชั้นเรียน และพัฒนาเป็นแนวคิดใหม่ เรียกว่า รูปแบบการเรียนรู้ (learning style)

Riding และ Rayner (1998) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วยรูปแบบการคิด (cognitive style) และกลยุทธ์การเรียนรู้ (learning strategy) ซึ่งหมายถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้การจัดการหรือตอบสนองในการทำกิจกรรมการเรียน เพื่อให้เหมาะสม กับสถานการณ์ และงานในขณะนั้นๆ

ความสำคัญของรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง และต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ผลการวิจัยได้ชี้ชัดว่า รูปแบบการคิด และ รูปแบบการเรียนรู้ ของผู้เรียนมีผลต่อความสำเร็จทางการเรียน โดยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียน จะเพิ่มขึ้น และผู้เรียนจะสามารถจดจำข้อมูลที่ได้เรียนนานขึ้น เมื่อวิธีสอน วัสดุ/สื่อการสอน และ สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ มีความสอดคล้องกับรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน (Davis, 1991; Jonassen & Grabowski, 1993; Caldwell & Ginthier ,1996 ; Dunn, et al.,1995 ) เช่น ผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดเป็นรูปภาพ จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อผู้สอนใช้สื่อการสอนที่มีภาพประกอบ หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการคิดแบบอิสระ จะเรียนรู้ได้ดี ในกิจกรรม การเรียนที่มีการค้นคว้าด้วยตนเอง หรือผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ก็จะเรียนรู้ได้ดีในกิจกรรมการเรียนที่มีส่วนร่วม มีการร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น
นอกจากนี้การวิจัยยังพบประเด็นที่น่าสนใจอีกว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน จากผลการเรียน ไม่ถึงเกณฑ์จำนวนมาก มีรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่สอดคล้องกับรูปแบบการสอน ที่ครูส่วนใหญ่ใช้สอนกัน (Caldwell & Gintheir, 1996; Rayner & Riding,1996) อีกทั้งยังพบว่านักเรียนที่มีปัญหาการเรียนส่วนใหญ่ มีรูปแบบการเรียนรู้ ที่แตกต่างไปจาก นักเรียนผู้สนใจเรียน และเรียนดี (Shaughnessy, 1998) จึงอาจเป็นไปได้ว่า ปัญหาการเรียนของนักเรียนเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากการที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกับนักเรียนทั่วไป และไม่สอดคล้องกับรูปแบบการสอนทั่วไปของครู
จึงกล่าวได้ว่าความรู้ความเข้าใจในเรื่องรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ มีความสำคัญ ต่อการส่งเสริม ประสิทธิภาพ ของ การเรียนการสอน และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และอาจช่วยลดปัญหาผลการเรียนต่ำ ปัญหาการหนีเรียน และไม่สนใจเรียนของผู้เรียนได้ด้วย

******************************